กักตัว 14 วัน ช่วยกันเพื่อส่วนรวม
ถาม ตอบ เรื่องการกักตัวที่บ้าน ร่วมป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
Q - การกักตัวที่บ้าน ต้องอยู่นานเท่าไหร่ เริ่มเมื่อใด?
A - 14 วันนับจากวันที่ออกจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือหากมีการสัมผัส ใกล้ชิด กับผู้ป่วย COVID-19 การกักตัว 14 วัน จะเริ่มตั้งแต่การสัมผัสผู้ติดเชื้อครั้งล่าสุด
Q – เมื่อต้องกักตัว การเดินทางไปที่บ้าน และเมื่อถึงบ้านควรทำอย่างไร?
A - หากจำเป็นต้องเดินทางไปที่บ้าน โดยขนส่งสาธารณะ แท็กซี่ หรือรถที่มีผู้อื่นโดยสารร่วมด้วย จะต้องสวมหน้ากากทางการแพทย์ (Sugical Mask) อย่างมิดชิดตลอดเวลาขณะเดินทาง
เมื่อถึงบ้าน ผู้ถูกกักกันต้อง จำกัด การทำกิจกรรมนอกบ้าน ยกเว้นเพื่อการรักษาพยาบาล ไม่ควรไปทำงานโรงเรียน/มหาวิทยาลัย ฟิตเนส หรือพื้นที่สาธารณะ และไม่ควรใช้บริการขนส่งสาธารณะหรือแท็กซี่
หากจำเป็นต้องไปพบแพทย์ตามนัด และไม่สามารถเลื่อนนัดได้ ต้องสวมหน้ากากทางการแพทย์ตลอดเวลา
Q – ควรเฝ้าดูอาการอย่างไรบ้าง?
A – สังเกตอาการที่สำคัญ ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจถี่ หรือหายใจลำบาก ตลอดจนอาการเริ่มแรกอื่น ๆ ที่ต้องระวัง ได้แก่ หนาวสั่น ปวดตามร่างกาย เจ็บคอ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล ปวดกล้ามเนื้อ หรือท้องเสีย
หากมีอาการรุนแรง หรือถึงขั้นฉุกเฉิน เช่น หายใจถี่หรือหายใจลำบาก โทรแจ้งตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้รับการแนะนำ หรือโทร 1669 โดยแจ้งข้อมูลของการกักตัวให้ผู้รับเรื่องทราบ
หากอาการไม่รุนแรง ควรโทรแจ้งตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้รับการแนะนำ หรือโรงพยาบาลในพื้นที่ การเดินทางไปพบแพทย์ ไม่ควรแวะสถานที่อื่น และสวมหน้ากากทางการแพทย์ตลอดเวลา
หากกักตัวในบ้านที่มีสมาชิกในครอบครัว หรือผู้อื่นอาศัยอยู่ หากคุณกำลังแบ่งปันบ้านของคุณกับคนอื่น ๆ ควรพยายามที่จะรักษาระยะห่างจากคนเหล่านั้นให้มากที่สุด ที่สำคัญคือ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในห้องเดียวกับผู้อื่น ใช้ห้องน้ำแยกต่างหากถ้าทำได้ หลีกเลี่ยงพื้นที่ส่วนกลางและสวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องผ่านบริเวณนั้น แจ้งเตือนไม่ให้ผู้อื่นมาเยี่ยมที่บ้าน
Q – การปฏิบัติตัวขณะกักตัว
A – ล้างมือบ่อย ๆ ให้ทั่วด้วยสบู่และน้ำ อย่างน้อย 20 วินาที ก่อนเข้าพื้นที่ที่มีผู้อื่นใช้ หลังจากใช้ห้องน้ำ หลังจากไอหรือจาม ก่อนใส่และหลังถอดหน้ากากอนามัย มือที่ไม่สกปรกจนมองเห็นด้วยตาเปล่า อาจใช้แอลกอฮอล์เจลแทนน้ำและสบู่ได้
สวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง คลุมจมูกและปากตลอดเวลาหลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้ากากโดยไม่จำเป็น
Q - การออกไปนอกบ้านทำได้แค่ไหน
A - การเดินเล่นในสวนหรือระเบียงภายในบ้านสามารถกระทำได้ ควรสวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะเมื่อมีผู้อื่นอาศัยร่วมอยู่ด้วย
หากอาศัยในอพาร์ทเมนต์การออกไปที่ระเบียงส่วนตัวสามารถทำได้ หากเป็นพื้นที่สวนส่วนกลางทั่วไปในขณะที่สวมหน้ากากทางการแพทย์ และควรผ่านพื้นที่ส่วนกลางอย่างรวดเร็ว
Q – มีคำแนะนำอื่น ๆอะไรบ้าง
- พูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อลดความวิตกกังวล สอบถามหรือค้นหาข้อมูลที่ถูกต้อง
- ให้สมาชิกในครอบครัวช่วยซื้อของใช้จำเป็นหรือยา หรือสั่งทางออนไลน์หรือโทรศัพท์ ที่มีบริการส่งถึงบ้าน
- ควรทำกิจวัตรประจำวันตามปกติให้มากที่สุด
- คุยกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ เพื่อขอทำงานหรือเรียนจากบ้าน ส่งงานทางอีเมล์ ออนไลน์
- ออกกำลังกายเป็นประจำบ้านภายในบ้าน เช่น แอโรบิค โยคะ หรืออาจเดินรอบ ๆ บ้าน ใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายที่บ้าน เช่น จักรยาน เป็นต้น